การขยายพันธุ์
ในการขยายพันธุ์กุหลาบเราสามารถทำได้หลายวิธี
เช่น การตัดชำ การติดตา การตอนกิ่ง
และการเพาะเมล็ด
บางครั้งเพื่อให้ได้ต้นกุหลาบที่มีรากแข็งแรง
และให้ผลผลิตสูงเกษตรกรมักนิยมกุหลาบพันธุ์ดีที่ติดตาบนตอกุหลาบป่า
การตอนกิ่ง
วิธีนี้เป็นที่นิยมมาก
เพราะทำได้ง่ายและเห็นผลเร็ว กิ่งที่เลือกต้องเป็นกิ่งที่สมบูรณ์
ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย
ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป คือสีเปลือกเขียวเข้มจนถึงน้ำตาลอ่อน เปลือกล่อนออกจากกิ่งได้ง่าย
วิธีตอนที่นิยมทำคือ การตอนแบบหุ้มกิ่ง โดยใช้มีดคมๆ ควั่นเปลือกรอบกิ่ง
2 รอย ห่างกันประมาณ 2.5-3 ซม. ให้รอยควั่นด้านบนอยู่ใต้ตาเล็กน้อย
กรีดตามยาวและลอกเอาเปลือกออก แล้วใช้สันมีดขูดเมือก ออกให้หมด
จากนั้นนำขุยมะพร้าวที่แช่น้ำจนอิ่มตัวหุ้มตรงรอยควั่น นำถุงพลาสติกมาหุ้มทับอีกที
แล้วมัดด้วยเชือกที่หัวท้ายให้แน่น กิ่งตอนจะเริ่มออกรากในเวลา 2-3 สัปดาห์
การติดตา
นิยมติดตาพันธุ์ดีบนต้นตอกุหลาบป่า
ได้แก่ Rosa multiflora หรือ R.indical (R. chinensis) ซึ่งมี ความแข็งแรงและทนทาน ก่อนทำการติดตาต้องเตรียมต้นตอและเลือกตาพันธุ์ดีที่จะนำมาติด
ควรเลือกต้นกุหลาบป่าที่กำลังเจริญเติบโต เปลือกล่อนจากเนื้อ
ตาที่ใช้ควรเป็นตาจากกิ่งที่ดอกเริ่มเหี่ยวประมาณ ตาที่ 3-4 นับจากตาแรกที่อยู่ใกล้ดอกลงมาหรือเลือกจากกิ่งที่สมบูรณ์เต็มที่ โดยเลือกเอาตาที่นูนเด่นชัด
วิธีการที่นิยมทำคือ การติดตาแบบตัวที (T-budding) โดยกรีดต้นตอตามทางยาวประมาณ
3-4 ซม. แล้วตัดขวางชิดกับรอยกรีดด้านบน
ใช้มีดเผยอเปลือกตามรอยกรีดด้านบนออกทั้งสองข้าง
จากนั้นใช้มีดเฉือนตาจากกิ่งพันธุ์ดีที่เตรียมไว้ให้เท่ากับแผลบนต้นตอ
นำแผ่นตาสอดลงไปในแผลบนต้นตอ พันด้วยพลาสติกให้แน่น หลังจากติดตา 7-10 วัน ถ้าแผ่นตายังเป็นสีเขียวแสดงว่าการติดตาได้ผล
การขยายพันธุ์ด้วยการติดตานี้ทำให้กุหลาบของเรามีดอกได้หลายสีในต้นเดียวกัน
การปักชำกิ่ง
วัสดุปักชำ ได้แก่
ทรายหยาบผสมกับขี้เถ้าแกลบ ในปริมาณเท่าๆ กัน กิ่งที่จะใช้ปักชำควรเป็นกิ่งที่มีดอกเริ่มแย้ม หรือกิ่งที่ดอกบานไปแล้วไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์
ตัดให้มีความยาว 5-6 นิ้ว มีใบติด 3-5 ใบ ขึ้นไป ตัดแล้วนำไปจุ่มในน้ำก่อนนำไปปักชำ
ช่วงเวลาในการตัดกิ่งควรเป็นตอนเช้าหรือตอนเย็น
วิธีนี้นิยมใช้ขยายพันธุ์กุหลาบหนู
การเพาะเมล็ด
จะต้องให้เมล็ดผ่านอุณหภูมิต่ำชั่วระยะเวลาหนึ่งจึงจะงอก
โดยธรรมชาติของกุหลาบจะติดเมล็ดในอากาศหนาวหรือเขตอบอุ่น
เมล็ดจึ่งไม่สามารถงอกได้ทันทีที่อุณหภูมิห้องปกติ เมื่อนำเมล็ดกุหลาบไปเพาะในภาชนะที่ใส่วัสดุเพาะ
เช่น ขุยมะพร้าวที่ชื้นคลุมด้วยถุงพลาสติกแล้ว จะต้องนำไปเพาะในตู้เย็นประมาณ 3-4 สัปดาห์ จะมีจำนวนเมล็ดงอกประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงนำออกมาไว้ข้างนอก เมื่อต้นกล้างอกหมด
แล้วจึงย้ายลงกระถางหรือถุงชำ
การตัดแต่งกิ่่ง
หลังจากปลูกกุหลาบได้ระยะหนึ่งจำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่ง มิฉะนั้นกุหลาบจะเจริญเติบโตอย่างไม่มีทิศทาง
จะแตกกิ่งก้านมากเกินไปทำให้ดอกเล็ก
ต้นหนาทึบดูแลยากและโรคและแมลงเข้าทำลายได้ง่าย
จุดประสงค์ในการตัดแต่งกิ่ง
1
เพื่อปรับรูปทรงของพุ่มต้นให้ดีขึ้น ไม่ให้สูงหรือหนาจนเกินไป
จะได้ง่ายในการดูแลรักษา
2
เพื่อบังคับให้มีการแตกกิ่งจากส่วนต่างๆของต้นซึ่งมักเป็นกิ่งขนาดโตเรียกว่ากิ่งกระโดง
ดอกที่เกิดจากกิ่งนี้จะมีขนาดโต
ภาพแสดงการเปรียบเทียบก่อนและหลังการตัดแต่ง
3
เป็นการกำจัดโรคและแมลงที่มีอยู่ตามกิ่งให้หมดไป
4 ช่วยในการแต่งดินในแปลงได้สะดวกขึ้น
ฤดูในการแต่งกิ่ง
ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศในแต่ละท้องที่ แต่นิยมทำตอนที่ตาเริ่มแตกยอดใหม่
ทำปีละ 2 ครั้ง ประมาณเดือน มิถุนายน และ
เดือนพฤศจิกายนและอาจทำทุกระยะของช่วงการเจริญเติบโต
หลักในการตัดแต่งกิ่ง
1 ตัดกิ่งแห้งตายออก
เช่นกิ่งแห้งในพุ่มหรือกิ่งแขนง กิ่งที่มีสีดำหรือสีน้ำตาล
2
ตัดกิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่แมลงทำลาย เช่นกิ่งหนามดำ กิ่งที่มีเพลี้ย
ควรตัดออกให้หมดเพื่อไม่ให้กระจายไปกิ่งอื่นๆ
3 ตัดกิ่งซักเกอร์ (suckers)
ซึ่งเป็นกิ่งที่แตกออกมาจากต้นตอออกให้หมด
ในกรณีที่กุหลาบนั้นได้จากการติดตา
4 ตัดกิ่งล้มเอน
กิ่งเกะกะ ที่ทำให้ไม่สะดวกในการดูแลรักษา
5
ตัดกิ่งแก่ที่ไม่ต้องการออก
6
ตัดกิ่งให้สั้นตามต้องการ มากน้อยขึ้นอยู่กับพันธุ์
สภาพดินและลักษณะอากาศในท้องที่ โดยแบ่งการตัดเป็น 3
ระดับคือ ตัดสั้นเพียงเล็กน้อยโดยตัด
1 ใน 3ของความสูงเดิม ตัดแต่งพอประมาณ ตัดส่วนบนทิ้งไปประมาณ 1 ใน 2
ตัดแต่งอย่างหนัก ตัดส่วนบนทิ้งไปประมาณ 2 ใน 3
7 ตัดกิ่งไขว้ออก
คือกิ่งที่เจริญในพุ่มรวมทั้งกิ่งที่ห้อยไปคลุมกิ่งอื่น
8 การตัดควรทำมุม 45 องศา ควรตัดเหนือตาประมาณ 1/4
และให้ตาอยู่ทางด้านส่วนสูงของรอยเฉียง
9
ทาขอบแผลรอยตัดกิ่งที่มีขนาดโตกว่าดินสอด้วยสีน้ำมันหรือปูนแดงเพื่อป้องกันการแห้งตายของปลายกิ่งที่เกิดจากการทำลายของหนอนเจาะต้นและเชื้อรา
การบำรุงหลังตัดแต่ง
1
เก็บใบที่เหลือติดโคนต้นออกให้หมด
ในกรณีที่ตัดแต่งกิ่งยังไม่แก่และต้องเหลือใบไว้เลี้ยงต้น
ต้องเก็บใบที่เป็นโรคออกให้หมดเหลือไว้แต่ใบที่สมบูรณ์
ใบแห้งที่ร่วงหล่นต้องเก็บให้หมดเพื่อไม่ให้เป็นที่เพาะเชื้อโรค
และเป็นที่หลบซ่อนของแมลง
2
ทำความสะอาดแปลงและพรวนดิน ควรใส่ปุ๋ยกระดูกต้นละ 1-2 กำมือ
และคลุมแปลงด้วยวัสดุคลุมดิน
3 ใส่ปุ๋ยปลา
โดยผสมน้ำอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำ 1 แกลลอน รดโคนต้น
4 ใช้แมกนีเซียมซัลเฟต
หรือดีเกลือโรยรอบต้นห่างจากโคคนต้น 1 ฟุต
5
ฉีดยากันเชื้อราภายใน 24 ชั่วโมงให้ทั่วต้นและตลอดหน้าแปลง
6
เมื่อกุหลาบเริ่มแตกใบใหม่ควรใส่ปุ๋ยสูตร 10-20-20 ทุกๆ 35 วัน แต่ไม่ควรเกิน 5-6 ครั้งต่อปี
และเนื่องจากกุหลาบจะต้องการน้ำมากเป็นพิเศษ หลังการตัดแต่งจึงควรรดน้ำมากกว่าปกติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น