การเตรียมดิน
สำหรับการปลูกในแปลงปลูก ดินควรเป็นดินที่ร่วนซุย
ถ้าดินไม่ค่อยดีควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษพืชต่างๆ
เมื่อพรวนดินแล้วจึงขุดหลุมปลูกอาจปลูกเป็นหลุมละต้น หลุมกว้างยาวลึก 50-75 ซ.ม.โดยขุดแบ่งดินเป็น 2
ระดับ ขุดลงไป 30 ซ.ม.แรก
ควรกองดินไว้ทางหนึ่งเรียกว่าหน้าดิน
อีก 45 ซ.ม.หลัง
กองแยกไว้อีกทางหนึ่งเรียกว่าดินก้นหลุม สำรับหน้าดินให้ตากให้แห้งสนิทประมาณ 6-10วัน ใช้กาบมะพร้าวหรืออิฐหักรองก้นหลุมเพื่อช่วยในการระบายน้ำ นำปุ๋ยคอกและขุยมะพร้าวผสมโดยใช้ดิน 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1ส่วน ขุยมะพร้าว 1 ส่วน ในส่วนผสม ลบ.เมตรเติมปุ๋ยสูตร 5-10-5 ซุปเปอร์ฟอสเฟสหรือกระดูกป่น 1 กก.
คลุกเคล้าให้เข้ากันดี นำไปใส่ในหลุมจนเต็ม จากนั้นรอดินยุบตัวดีจึงลงมือปลูก
ปุ๋ยคอกเป็นปุ๋ยที่หาง่ายและสามารถย่อยได้ดีใน 1-2 เดือน
ยิ่งถ้าเป็นมูลวัวจะทำให้กุหลาบใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้มากสุดเนื่องจากมูลวัวช่วยให้การเจริญเติบโตของรากกุหลาบดีขึ้น
ส่วนกระดูกป่นเป็นปุ๋ยที่ให้ฟอสฟอรัสสูงและสลายตัวช้า ทำให้ต้นกุหลาบไม่โทรมเร็ว
ส่วนการเตรียมดินปลูกในภาชนะ
ต้องปรับปรุงดินให้ร่วนซุยมากๆ เพราะหลังจากปลูกไปแล้ว จะปรับปรุงดินได้ยากกว่าในแปลง
ถ้าดินไม่ร่วนซุยพอ จะทำให้ดินจับตัวเป็นก้อนและทำให้ระบายน้ำไม่ได้
เมื่อรดน้ำน้ำจะขังและทำให้กุหลาบเหี่ยวและตายได้
นอกจากนี้การปลูกในภาชนะดินต้องมีธาตุอาหารเพียงพอ
ดังนั้นจึงนิยมใช้ดินผสมที่มีขายตามท้องตลาดหรืออาจผสมเองก็ได้
โดยใช้ดินร่วนหรือดินทรายผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เศษวัสดุต่างๆ
จนดินมีสภาพเหมาะสมกับการปลูก
สำหรับการปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับสถานที่หรือสวนหย่อม
ควรเตรียมหลุมปลูกหรือและปรับปรุงดินไว้ล่วงหน้าและคำนึงถึงการระบายน้ำ
โดยอาจยกระดับดินบริเวณหลุมปลูกให้สูงกว่าระดับสนามเล็กน้อย
เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังโคนต้น
การดูแลรักษา
การให้น้ำ
ให้น้ำระบบน้ำหยด
หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์
อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง
แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ
และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์
หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH5.8-6.5
การให้ปุ๋ยก่อนปลูก
ปุ๋ยก่อนปลูก คือ
ปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ซึ่งให้ประโยชน์ 2 ประการคือ
1. ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มปลูก
2. ให้ธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณมากและเพียงพอสำหรับการปลูกพืชตลอดฤดูซึ่งทำให้สามารถงดหรือลดการให้ปุ๋ยนั้น
ๆ ได้
ระหว่างการปลูกพืชการให้ธาตุอาหารทุกชนิดแก่พืชในขณะปลูก
ทำได้ลำบากเนื่องจากมีถึง 14 ธาตุ
ธาตุบางชนิดจะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว บางชนิดต้องให้เพิ่มเติม
หากเป็นไปได้ควรส่งดินไปตรวจเพื่อรับคำแนะนำว่าควรปรับปรุงดินได้อย่างไร
ซึ่งตัวอย่างสามารถส่งไปตรวจที่กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
การให้ปุ๋ยระหว่างปลูก
ปริมาณ และสัดส่วนของธาตุอาหาร
การให้ปุ๋ยระหว่างปลูกพืช
เนื่องจากธาตุอาหารส่วนใหญ่จะมีอยู่ในดินแล้วเมื่อปลูกพืชจึงยังคงเหลือธาตุ
ไนโตรเจน และโปแทสเซียม ซึ่งจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องให้ปุ๋ย
ทั้งสองในระหว่างที่พืชเจริญเติบโต
ซึ่งการให้ปุ๋ยอาจทำได้โดยการให้พร้อมกับการให้น้ำ (fertigation)
การให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำสำหรับกุหลาบ
หากให้ทุกวันจะให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 160 มก./ลิตร (ppm) และหากให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์ควรให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน
480 มก./ลิตร
สัดส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O) และโปแตสเซียม
(K2O) สำหรับกุหลาบในระยะต่าง ๆ คือ
1. ระยะสร้างทรงพุ่ม สัดส่วน 1
: 0.58 : 0.83
2. ระยะให้ดอก สัดส่วน 1
: 0.5 : 0.78
3. ระยะตัดแต่งกิ่ง สัดส่วน 1:
0.8 : 0.9
การดูแลกุหลาบระยะแรกหลังปลูก เมื่อตากุหลาบเริ่มแตก
ควรส่งเสริมให้มีการเจริญทางใบ เพื่อการสะสมอาหาร และสร้างกิ่งกระโดง
เพื่อให้ได้ดอกที่มีขนาดใหญ่ และก้านยาว
ซึ่งทำได้ด้วยการเด็ดยอดเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน โดยเด็ดส่วนเหนือใบสมบูรณ์ (5 ใบย่อย)
ใบที่สองจากยอด เมื่อดอกมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา จากนั้นกิ่งกระโดงจะเริ่มแทงออก
ซึ่งกิ่งกระโดงนี้จะเป็นโครงสร้างหลักให้ต้นกุหลาบ ที่ให้ดอกมีคุณภาพดี
การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งกุหลาบปฏิบัติได้หลายวิธี
แต่ละวิธีจะใช้หลักการที่คล้ายกัน คือตัดแต่งเพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์เพื่อการตัดดอก
และเพื่อให้ได้กิ่งกระโดง (water sprout หรือ bottom break) มากขึ้น
และจะรักษาใบไว้กับต้นให้มากที่สุด เพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด
ควรรักษาให้พุ่มกุหลาบโปร่ง และไม่สูงมากเกินไปนัก เพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา
และแสงที่กระทบโคนต้นกุหลาบจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิ่งกระโดงอีกด้วย
การตัดแต่งกิ่งที่นิยมในปัจจุบันได้แก่ การตัดแต่งกิ่งแบบ ตัดสูงและต่ำ
การตัดแต่งแบบตัดสูงและต่ำ (สูงแและต่ำจากจุดกำเนิดของกิ่งสุดท้าย)
เป็นการตัดแต่งเพื่อให้มีการผลิตดอกสม่ำเสมอทั้งปี
การเตรียมดิน
สำหรับการปลูกในแปลงปลูก ดินควรเป็นดินที่ร่วนซุย
ถ้าดินไม่ค่อยดีควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษพืชต่างๆ
เมื่อพรวนดินแล้วจึงขุดหลุมปลูกอาจปลูกเป็นหลุมละต้น หลุมกว้างยาวลึก 50-75 ซ.ม.โดยขุดแบ่งดินเป็น 2
ระดับ ขุดลงไป 30 ซ.ม.แรก
ควรกองดินไว้ทางหนึ่งเรียกว่าหน้าดิน
อีก 45 ซ.ม.หลัง
กองแยกไว้อีกทางหนึ่งเรียกว่าดินก้นหลุม สำรับหน้าดินให้ตากให้แห้งสนิทประมาณ 6-10วัน ใช้กาบมะพร้าวหรืออิฐหักรองก้นหลุมเพื่อช่วยในการระบายน้ำ นำปุ๋ยคอกและขุยมะพร้าวผสมโดยใช้ดิน 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1ส่วน ขุยมะพร้าว 1 ส่วน ในส่วนผสม ลบ.เมตรเติมปุ๋ยสูตร 5-10-5 ซุปเปอร์ฟอสเฟสหรือกระดูกป่น 1 กก.
คลุกเคล้าให้เข้ากันดี นำไปใส่ในหลุมจนเต็ม จากนั้นรอดินยุบตัวดีจึงลงมือปลูก
ปุ๋ยคอกเป็นปุ๋ยที่หาง่ายและสามารถย่อยได้ดีใน 1-2 เดือน
ยิ่งถ้าเป็นมูลวัวจะทำให้กุหลาบใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้มากสุดเนื่องจากมูลวัวช่วยให้การเจริญเติบโตของรากกุหลาบดีขึ้น
ส่วนกระดูกป่นเป็นปุ๋ยที่ให้ฟอสฟอรัสสูงและสลายตัวช้า ทำให้ต้นกุหลาบไม่โทรมเร็ว
ส่วนการเตรียมดินปลูกในภาชนะ
ต้องปรับปรุงดินให้ร่วนซุยมากๆ เพราะหลังจากปลูกไปแล้ว จะปรับปรุงดินได้ยากกว่าในแปลง
ถ้าดินไม่ร่วนซุยพอ จะทำให้ดินจับตัวเป็นก้อนและทำให้ระบายน้ำไม่ได้
เมื่อรดน้ำน้ำจะขังและทำให้กุหลาบเหี่ยวและตายได้
นอกจากนี้การปลูกในภาชนะดินต้องมีธาตุอาหารเพียงพอ
ดังนั้นจึงนิยมใช้ดินผสมที่มีขายตามท้องตลาดหรืออาจผสมเองก็ได้
โดยใช้ดินร่วนหรือดินทรายผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เศษวัสดุต่างๆ
จนดินมีสภาพเหมาะสมกับการปลูก
สำหรับการปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับสถานที่หรือสวนหย่อม
ควรเตรียมหลุมปลูกหรือและปรับปรุงดินไว้ล่วงหน้าและคำนึงถึงการระบายน้ำ
โดยอาจยกระดับดินบริเวณหลุมปลูกให้สูงกว่าระดับสนามเล็กน้อย
เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังโคนต้น
การดูแลรักษา
การให้น้ำ
ให้น้ำระบบน้ำหยด
หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์
อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง
แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ
และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์
หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH5.8-6.5
การให้ปุ๋ยก่อนปลูก
ปุ๋ยก่อนปลูก คือ
ปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ซึ่งให้ประโยชน์ 2 ประการคือ
1. ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มปลูก
2. ให้ธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณมากและเพียงพอสำหรับการปลูกพืชตลอดฤดูซึ่งทำให้สามารถงดหรือลดการให้ปุ๋ยนั้น
ๆ ได้
ระหว่างการปลูกพืชการให้ธาตุอาหารทุกชนิดแก่พืชในขณะปลูก
ทำได้ลำบากเนื่องจากมีถึง 14 ธาตุ
ธาตุบางชนิดจะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว บางชนิดต้องให้เพิ่มเติม
หากเป็นไปได้ควรส่งดินไปตรวจเพื่อรับคำแนะนำว่าควรปรับปรุงดินได้อย่างไร
ซึ่งตัวอย่างสามารถส่งไปตรวจที่กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
การให้ปุ๋ยระหว่างปลูก
ปริมาณ และสัดส่วนของธาตุอาหาร
การให้ปุ๋ยระหว่างปลูกพืช
เนื่องจากธาตุอาหารส่วนใหญ่จะมีอยู่ในดินแล้วเมื่อปลูกพืชจึงยังคงเหลือธาตุ
ไนโตรเจน และโปแทสเซียม ซึ่งจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องให้ปุ๋ย
ทั้งสองในระหว่างที่พืชเจริญเติบโต
ซึ่งการให้ปุ๋ยอาจทำได้โดยการให้พร้อมกับการให้น้ำ (fertigation)
การให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำสำหรับกุหลาบ
หากให้ทุกวันจะให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 160 มก./ลิตร (ppm) และหากให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์ควรให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน
480 มก./ลิตร
สัดส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O) และโปแตสเซียม
(K2O) สำหรับกุหลาบในระยะต่าง ๆ คือ
1. ระยะสร้างทรงพุ่ม สัดส่วน 1
: 0.58 : 0.83
2. ระยะให้ดอก สัดส่วน 1
: 0.5 : 0.78
3. ระยะตัดแต่งกิ่ง สัดส่วน 1:
0.8 : 0.9
การดูแลกุหลาบระยะแรกหลังปลูก เมื่อตากุหลาบเริ่มแตก
ควรส่งเสริมให้มีการเจริญทางใบ เพื่อการสะสมอาหาร และสร้างกิ่งกระโดง
เพื่อให้ได้ดอกที่มีขนาดใหญ่ และก้านยาว
ซึ่งทำได้ด้วยการเด็ดยอดเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน โดยเด็ดส่วนเหนือใบสมบูรณ์ (5 ใบย่อย)
ใบที่สองจากยอด เมื่อดอกมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา จากนั้นกิ่งกระโดงจะเริ่มแทงออก
ซึ่งกิ่งกระโดงนี้จะเป็นโครงสร้างหลักให้ต้นกุหลาบ ที่ให้ดอกมีคุณภาพดี
การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งกุหลาบปฏิบัติได้หลายวิธี
แต่ละวิธีจะใช้หลักการที่คล้ายกัน คือตัดแต่งเพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์เพื่อการตัดดอก
และเพื่อให้ได้กิ่งกระโดง (water sprout หรือ bottom break) มากขึ้น
และจะรักษาใบไว้กับต้นให้มากที่สุด เพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด
ควรรักษาให้พุ่มกุหลาบโปร่ง และไม่สูงมากเกินไปนัก เพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา
และแสงที่กระทบโคนต้นกุหลาบจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิ่งกระโดงอีกด้วย
การตัดแต่งกิ่งที่นิยมในปัจจุบันได้แก่ การตัดแต่งกิ่งแบบ ตัดสูงและต่ำ
การตัดแต่งแบบตัดสูงและต่ำ (สูงแและต่ำจากจุดกำเนิดของกิ่งสุดท้าย)
เป็นการตัดแต่งเพื่อให้มีการผลิตดอกสม่ำเสมอทั้งปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น