วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการปลูกดอกกุหลาบและดูแลกุหลาบ


 การเตรียมดิน

           สำหรับการปลูกในแปลงปลูก ดินควรเป็นดินที่ร่วนซุย ถ้าดินไม่ค่อยดีควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษพืชต่างๆ เมื่อพรวนดินแล้วจึงขุดหลุมปลูกอาจปลูกเป็นหลุมละต้น  หลุมกว้างยาวลึก 50-75 ซ.ม.โดยขุดแบ่งดินเป็น 2 ระดับ ขุดลงไป 30 ซ.ม.แรก    ควรกองดินไว้ทางหนึ่งเรียกว่าหน้าดิน    อีก 45 ซ.ม.หลัง กองแยกไว้อีกทางหนึ่งเรียกว่าดินก้นหลุม สำรับหน้าดินให้ตากให้แห้งสนิทประมาณ 6-10วัน ใช้กาบมะพร้าวหรืออิฐหักรองก้นหลุมเพื่อช่วยในการระบายน้ำ  นำปุ๋ยคอกและขุยมะพร้าวผสมโดยใช้ดิน 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1ส่วน ขุยมะพร้าว  1 ส่วน ในส่วนผสม  ลบ.เมตรเติมปุ๋ยสูตร  5-10-5   ซุปเปอร์ฟอสเฟสหรือกระดูกป่น  1 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันดี นำไปใส่ในหลุมจนเต็ม จากนั้นรอดินยุบตัวดีจึงลงมือปลูก   ปุ๋ยคอกเป็นปุ๋ยที่หาง่ายและสามารถย่อยได้ดีใน   1-2 เดือน ยิ่งถ้าเป็นมูลวัวจะทำให้กุหลาบใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้มากสุดเนื่องจากมูลวัวช่วยให้การเจริญเติบโตของรากกุหลาบดีขึ้น ส่วนกระดูกป่นเป็นปุ๋ยที่ให้ฟอสฟอรัสสูงและสลายตัวช้า ทำให้ต้นกุหลาบไม่โทรมเร็ว 
              ส่วนการเตรียมดินปลูกในภาชนะ ต้องปรับปรุงดินให้ร่วนซุยมากๆ เพราะหลังจากปลูกไปแล้ว จะปรับปรุงดินได้ยากกว่าในแปลง ถ้าดินไม่ร่วนซุยพอ จะทำให้ดินจับตัวเป็นก้อนและทำให้ระบายน้ำไม่ได้ เมื่อรดน้ำน้ำจะขังและทำให้กุหลาบเหี่ยวและตายได้   นอกจากนี้การปลูกในภาชนะดินต้องมีธาตุอาหารเพียงพอ ดังนั้นจึงนิยมใช้ดินผสมที่มีขายตามท้องตลาดหรืออาจผสมเองก็ได้ โดยใช้ดินร่วนหรือดินทรายผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เศษวัสดุต่างๆ จนดินมีสภาพเหมาะสมกับการปลูก

   สำหรับการปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับสถานที่หรือสวนหย่อม ควรเตรียมหลุมปลูกหรือและปรับปรุงดินไว้ล่วงหน้าและคำนึงถึงการระบายน้ำ โดยอาจยกระดับดินบริเวณหลุมปลูกให้สูงกว่าระดับสนามเล็กน้อย เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังโคนต้น



การดูแลรักษา

การให้น้ำ

ให้น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี      มี pH5.8-6.5

การให้ปุ๋ยก่อนปลูก

ปุ๋ยก่อนปลูก คือ ปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ซึ่งให้ประโยชน์ 2 ประการคือ

1.      ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มปลูก
2.      ให้ธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณมากและเพียงพอสำหรับการปลูกพืชตลอดฤดูซึ่งทำให้สามารถงดหรือลดการให้ปุ๋ยนั้น ๆ ได้
ระหว่างการปลูกพืชการให้ธาตุอาหารทุกชนิดแก่พืชในขณะปลูก ทำได้ลำบากเนื่องจากมีถึง 14 ธาตุ ธาตุบางชนิดจะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว บางชนิดต้องให้เพิ่มเติม หากเป็นไปได้ควรส่งดินไปตรวจเพื่อรับคำแนะนำว่าควรปรับปรุงดินได้อย่างไร ซึ่งตัวอย่างสามารถส่งไปตรวจที่กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ

การให้ปุ๋ยระหว่างปลูก

ปริมาณ และสัดส่วนของธาตุอาหาร การให้ปุ๋ยระหว่างปลูกพืช เนื่องจากธาตุอาหารส่วนใหญ่จะมีอยู่ในดินแล้วเมื่อปลูกพืชจึงยังคงเหลือธาตุ ไนโตรเจน และโปแทสเซียม ซึ่งจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องให้ปุ๋ย ทั้งสองในระหว่างที่พืชเจริญเติบโต ซึ่งการให้ปุ๋ยอาจทำได้โดยการให้พร้อมกับการให้น้ำ (fertigation)
การให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำสำหรับกุหลาบ หากให้ทุกวันจะให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 160 มก./ลิตร (ppm) และหากให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์ควรให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 480 มก./ลิตร
สัดส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O) และโปแตสเซียม (K2O) สำหรับกุหลาบในระยะต่าง ๆ คือ
1.      ระยะสร้างทรงพุ่ม สัดส่วน 1 : 0.58 : 0.83
2.      ระยะให้ดอก สัดส่วน 1 : 0.5 : 0.78
3.      ระยะตัดแต่งกิ่ง สัดส่วน 1: 0.8 : 0.9
    การดูแลกุหลาบระยะแรกหลังปลูก เมื่อตากุหลาบเริ่มแตก ควรส่งเสริมให้มีการเจริญทางใบ เพื่อการสะสมอาหาร และสร้างกิ่งกระโดง เพื่อให้ได้ดอกที่มีขนาดใหญ่ และก้านยาว ซึ่งทำได้ด้วยการเด็ดยอดเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน โดยเด็ดส่วนเหนือใบสมบูรณ์ (5 ใบย่อย) ใบที่สองจากยอด เมื่อดอกมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา จากนั้นกิ่งกระโดงจะเริ่มแทงออก ซึ่งกิ่งกระโดงนี้จะเป็นโครงสร้างหลักให้ต้นกุหลาบ ที่ให้ดอกมีคุณภาพดี
    การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งกุหลาบปฏิบัติได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะใช้หลักการที่คล้ายกัน คือตัดแต่งเพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์เพื่อการตัดดอก และเพื่อให้ได้กิ่งกระโดง (water sprout หรือ bottom break) มากขึ้น และจะรักษาใบไว้กับต้นให้มากที่สุด เพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด ควรรักษาให้พุ่มกุหลาบโปร่ง และไม่สูงมากเกินไปนัก เพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา และแสงที่กระทบโคนต้นกุหลาบจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิ่งกระโดงอีกด้วย การตัดแต่งกิ่งที่นิยมในปัจจุบันได้แก่ การตัดแต่งกิ่งแบบ ตัดสูงและต่ำ

    การตัดแต่งแบบตัดสูงและต่ำ (สูงแและต่ำจากจุดกำเนิดของกิ่งสุดท้าย) เป็นการตัดแต่งเพื่อให้มีการผลิตดอกสม่ำเสมอทั้งปี



วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ลักษณะและสายพันธุ์ของดอกกุหลาบ


 ลักษณะของดอกกุหลาบ          

         กุหลาบเป็นพรรณไม้ยืนต้น เป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความยาวประมาณ 30-200 เซนติเมตร ลำต้นเตี้ยและสูง มีหนามหรือไม่มีแล้วแต่ชนิดพันธุ์ลำต้นสีเขียวเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลแตกกิ่งก้านมารอบต้นใบเป็นใบรวมแตกออกจากกิ่งก้านก้านใบจะมีหูใบติด
 อยู่ด้วยลักษณะใบโคนใบมนปลายใบแหลมขอบใบมีหยักเล็กน้อยตัวใบนิ่มมีสีเขียวใบจะออกจากก้านใบเป็นคู่ขนาดความกว้างของ
ใบประมาณ 2- 4 เซนติเมตรยาวประมาณ3 - 5เซนติเมตรดอกเป็นดอกเดี่ยวมีก้านดอกยาวแตกออกจากปลายกิ่งหรือง่ามใบที่กิ่ง
ลักษณะดอกเป็นกลีบเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆประมาณ4-6 ชั้นดอกมีกลีบ 5-15 กลีบขอบดอกเรียบตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมีย
อยู่รวมกันดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกบานมี ความกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตรลักษณะของลำต้นใบดอกแตกต่างกันไปตามชนิด
พันธุ์


ประเภทดอกุหลาบ

กุหลาบสามารถจำแนกได้หลายแบบ เช่น จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต ขนาดดอก สีดอก ความสูงต้น และจำแนก ตามลักษณะของดอก เป็นต้น ในที่นี้ได้จำแนกกุหลาบเฉพาะกุหลาบตัดดอกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ทางการค้าในตลาดโลกเป็น 5 ประเภทดังนี้





กุหลาบดอกใหญ่ หรือ กุหลาบก้านยาว (large flowered or long stemmed roses) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบไฮบริดที (Hybrid Tea: HT) ที่มีดอกใหญ่ แต่การดูแลรักษายาก ผลผลิตต่ำ (100-150 ดอก/ตร.ม./ปี) และอายุการปักแจกันสั้นกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกุหลาบ Floribunda มักมีก้านยาวระหว่าง 50-120 เซนติเมตร กุหลาบดอกใหญ่ได้รับความนิยมมากใน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น ซิมบับเว โมร๊อกโก ฝรั่งเศส และ อิตาลี พันธุ์กุหลาบดอกใหญ่ที่เป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศได้แก่ พันธุ์ เวก้า (Vega: แดง) , มาดาม เดลบา (Madam Delbard) , วีซ่า (Visa: แดง) , โรเท โรเซ (Rote Rose: แดง) , คารล์ เรด (Carl Red: แดง) , โซเนีย (Sonia: ชมพูส้ม) , เฟิร์สเรด (First Red: แดง) , โพรฟิตา (Prophyta: ปูนแห้ง) , บิอังกา (Bianca: ขาว) , โนเบลส (Noblesse: ชมพูส้ม) และ แกรนด์ กาลา (Grand Gala: แดง) เป็นต้น



กุหลาบดอกกลาง หรือ กุหลาบก้านขนาดกลาง (medium flowered or medium stemmed roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ซึ่งมีลักษณะระหว่างกุหลาบดอกใหญ่ และเล็ก เป็นกุหลาบ Hybrid Tea ให้ผลผลิตสูง (150-220 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนการขนส่งได้ดี ความยาวก้านระหว่าง 40-60 ซม. แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี อิสราเอล ซิมบับเว เคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ซาช่า (Sacha: แดง) , เมอร์ซิเดส (Mercedes: แดง) , เกเบรียล (Gabrielle: แดงสด) , คิสส์ (Kiss: ชมพู) , โกลเด้นทาม (Goldentime: เหลือง) , ซาฟารี (Safari: ส้ม) และ ซูวีเนีย (Souvenir: ม่วง) เป็นต้น



กุหลาบดอกเล็ก หรือ กุหลาบก้านสั้น (small flowered or short stemmed roses) เป็นกุหลาบที่ได้รับความนิยมปลูก และบริโภคกันมากในยุโรป โดยเฉพาะ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ กุหลาบก้านสั้นนี้เป็นกุหลาบ Floribunda ที่ให้ผลผลิตสูง (220-350 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนต่อการขนส่งดีกว่ากุหลาบดอกใหญ่ มักมีความยาวก้านระหว่าง 30-50 เซนติเมตร แหล่งผลิตกุหลาบดอกเล็กได้แก่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิสราเอล และเคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ฟริสโก (Frisco:เหลือง) , เอสกิโม (Escimo: ขาว) , โมเทรีย (Motrea: แดง) , เซอไพรซ์ (Surprise: ชมพู) , และ แลมบาด้า (Lambada: แสด) เป็นต้น



กุหลาบดอกช่อ (spray roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ให้ผลผลิตต่ำต่อพื้นที่ (120-160 ดอกต่อตารางเมตรต่อปี) ความยาวก้านระหว่าง 40-70 ซม. มักมี 4-5 ดอกในหนึ่งช่อ และยังมีตลาดจำกัดอยู่ เช่นพันธุ์ เอวีลีน (Evelien: ชมพู) เดียดีม (Diadeem: ชมพู) และ นิกิต้า (Nikita: แดง) เป็นต้น



กุหลาบหนู (miniature roses) มีขนาดเล็กหรือแคระโดยธรรมชาติ ความสูงของทรงพุ่มไม่เกิน 1 ฟุตให้ผลผลิตสูง 450-550 ดอก/ตร.ม./ปี มีความยาวก้านดอกระหว่าง 20-30 ซม. ยังมีตลาดจำกัดอยู่ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ และอิตาลี

สายพันธุ์ดอกกุหลาบ

 กุหลาบที่ปลูกในประเทศไทยปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทซึ่งถ้า แบ่งออกโดยสังเขปจะได้ดังนี้ 

  1. กุหลาบตัดดอกหรือไฮบริดที(Hybrid Tea หรือ HT)J
ปกติมัก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวมีขนาดโต กลีบดอกซ้อน พุ่มต้นตั้งตรงสูงประมาณ 1-2 เมตร กุหลาบที่มีขายทั่วไป ตามท้องตลาดขณะนี้มักจะเป็นกุหลาบประเภทนี้ อย่า งไร ก็ตาม พันธุ์ ไฮบริดที นั้น มิได้ใช้บลูกเป็นไม้ตัดดอกได้ดีทุกพันธุ์ ดังนั้น จำเป็น ต้องคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละท้องที่ ลักษณะที่เหมาะสมสำหรับจะใช้ เป็นพันธุ์สำหรับตัดดอก คือ
พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ พันธุ์บราโว. เรดมาสเตอร์พีช, คริสเตียนดิออร์, โอลิมเปียด, นอริค้า, แกรนด์มาสเตอร์พีช, ปาปามิลแลนด์, เวก้า พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ พันธุ์คิงส์แรนซัม, ซันคิงส์, เฮสมุดสมิดท์, นิวเดย์ โอรีโกลด์ และเมลิลอน พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ พันธุ์ซันดาวน์เนอร์, แซนดรา, ซุปเปอร์สตาร์หรือทรอพปิคานา พันธุ์ดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์มิสออลอเมริกาบิวตี้ หรือมาเรีย, คาสลาส, ไอเฟลทาวเวอร์, สวาทมอร์, เฟรนด์ชิพ, เพอร์ฟูมดีไลท์, จูวังแซล, เฟิร์สท์ไพรซ์, อเควเรียส, ซูซานแฮมเชียร์ พันธุ์ดอกสีขาว ได้แก่ พันธุ์ไวท์คริสต์มาส เอทีนา

2. กุหลาบพวง หรือ ฟลอริบันด้า ( Foribunda หรือ F.)
กุหลาบพวงมีความแข็งแรงทนทานกว่ากุหลาบตัดดอก ออกดอกดกแต่ดอกไม่ใหญ่เท่ากับกุหลาบตัดดอกแต่มีครบทุกสี และออกดอกเป็นช่อทีละหลาย ๆ ดอก จึงนิยมเรียกว่ากุหลาบพวง และมักบานพร้อมกัน ดอกมีขนาดเล็ก พุ่มต้นตั้งตรงสูง ประมาณครึ่งเมตรถึง 1 เมตร เหมาะสมที่จะปลูกในแปลงประดับและในกระถางเช่น พันธุ์ฟูซีเลียร์, พันธุ์แองเจลเฟส ส เอทีนา



3. Grandiflora เป็นกุหลาบที่พัฒนามาจากกุหลาบ  Floribunda
 อีกทีหนึ่ง กุหลาบประเภทนี้จะออกดอกเป็นช่อคล้ายกุหลาบประเภทFloribunda แต่ดอกมีขนาดใหญ่กว่าและรูปดอกนั้นมีลักษณะคล้ายกับกุหลาบประเภท Hybrid Tea มาก กุหลาบประเภทนี้มีพุ่มขนาดใหญ่ ดอกมีขนาดปานกลาง บางพันธุ์ก็ตรงข้ามกันคือมีดอกจำนวนน้อย ก้านช่อดอกยาวปานกลางกุหลาบประเภท Grandiflora นี้มีทรงต้นสูง  จึงนิยมปลูกเป็นฉากหลัง

4. กุหลาบ หรือ มินิเอเจอร์ (Miniature หรือ Min.) เป็นกุหลาบที่มีขนาดพุ่มต้นเล็ก สูง 1- 2 ฟุต ออกดอกเป็นพวงและดอกมีขนาดเล็ก นิยมปลูกประดับแปลง และใช้เป็นไม้กระถาง เช่น พันธุ์เบบี้ มาสเคอร์เหรด

5. กุหลาบเลื้อย หรือ ไคลมเบอร์ (Climher หรือ Cl.) กุหลาบชนิดนี้ลำต้นสูงตรง นำไปเลื้อยพันกับสิ่งต่าง ๆ ได้ดอกมีทั้งเป็นดอกขนาดใหญ่ และดอกเป็นพวง เช่น พันธุ์ดอนจวน , พันธุ์ค็อกเทล



6. ประเภทโพลีแอนท่า (Polyantha หรือ Pol.) เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างพันธุ์โรซ่า มัลติฟอร่า กับ โรซ่า ไชเนนซิสมีขนาดพุ่มต้นเตี้ย แข็งแรงและทนทานมาก ออกดอกเป็นพวงคล้ายกุหลาบพวง ลักษณะดอกและต้นคล้ายกุหลาบหนูแต่จะแตกต่างกับกุหลาบหนูตรงที่กุหลาบโพลีแอนท่าจะมีหูใบที่มีลักษณะของพันธุโรซ่า มัลติฟลอร่า กุหลาบประเภทนี้ เช่น พันธุ์วายวอน ราเบีย


7. ประเภทแรมเบลอร์ (Rambler หรือ R) มีลำต้นยาวและอ่อนโค้งออกดอกเป็นพวง และดอกมีขนาดเล็ก เช่น พันธ์ไดโรที เปอร์กิน

8. กุหลาบพุ่ม หรือซรับโรส (Shrub หรือ S.) ได้แก่กุหลาบพันธุ์ป่าหรือลูกผสมของพันธุ์ป่า ซึ่งมีทรงต้นเป็นพุ่ม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กส่วนมากมีกลีบชั้นเดียว เช่น พันธ์โรซ่า นิติด้า , โรซ่า มัลติฟลอร่า, โรซ่า รูโกซ่า



พันธุ์กุหลาบสีต่างๆ

       
กุหลาบสีชมพู   
เป็นสีที่นิยมปลูกกันมาก นอกจากจะให้ความโรแมนติกและสวยงาม น่ารักแล้ว กุหลาบสีชมพูยังเข้ากันได้ดีกับดอกไม้สีอื่นๆในแปลงดอกไม้ของเราอีกด้วย ในสีชมพูของกุหลาบนี้ยังมีหลายเฉดสี เช่น ชมพูเข้ม ชมพูอ่อน ชมพูอมส้ม ชมพูอมขาว เป็นต้น
       Bonica   กุหลาบพุ่ม Shrub เป็นพันธุ์ที่เหมาะกับสวนหรือแปลงดอกไม้เล็กๆ  ลำต้นเป็นพุ่มสูงประมาณ 2-4 ฟุต แข็งแรง  ทนทานต่อทั้งสภาพอากาศร้อนและอากาศหนาว  ปลูกและดูแลรักษาง่าย  เจริญเติบโตได้ดี  ดอกดก  ออกดอกเป็นช่อ  สีสวย

 

กุหลาบสีแดง  
ไม่ว่ายุคไหนสมัยไหนกุหลาบสีแดงยังคงครองความเป็นที่นิยมตลอดกาล โดยเฉพาะสีแดงเข้ม กุหลาบแดงนอกจากจะมีสีสวยงามแล้ว ยังมีความหมายถึงความรัก  อีกด้วย
 เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้เลื้อยตามสวนเล็กๆหรือตามระเบียง เนื่องจากสีแดงของดอกมองเห็นได้ไกลและสะดุดตา กุหลาบพันธุ์นี้เจริญเติบโตได้ดีในอากาศร้อน
         Christian Dior  กุหลาบตัดดอก  Hybrid Tea เป็นกุหลาบที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากดอกสีแดงสด ให้ดอกดก  รูปทรงดอกดี   จำนวนกลีบดอกพอเหมาะ   กิ่งยาวตรง  แข็งแรง  หนามน้อย ใบค่อนข้างหนา  ดอกบานเต็มที่ขนาด 10-12 ซ.ม. กลิ่นหอมอ่อนๆ
กุหลาบสีเหลือง เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น อาจเป็นเพราะว่าสีเหลืองของดอกทำให้แปลงดอกไม้ดูมีชีวิตชีวาและสวยงามขึ้น  กุหลาบสีเหลืองมีอยู่หลายเฉดสี  เหลืองเข้ม เหลืองอ่อน เหลืองปนขาว เหลืองอมส้ม ที่แน่ๆสวยทุกเฉดสี


กุหลาบเหลือง 
หมายถึงความร่าเริง ความสุข และมิตรภาพ
         Midas Touch กุหลาบตัดดอก Hybrid Tea  ดอกสีเหลืองเข้ม  ดอกใหญ่ รูปทรงดอกดี
 ก้านดอกแข็ง เหมาะสำหรับเป็นกุหลาบตัดดอก  ต้นสูงประมาณ 4-5 ฟุต  แข็งแรง ต้านทานโรคได้ดี


 

กุหลาบสีขาว 
ถูกใช้ในการจัดเป็นช่อดอกไม้เจ้าสาวสำหรับงานแต่งงาน เนื่องจากมีความหมายถึงความบริสุทธิ์  หรือความรักที่บริสุทธิ์
white Christmas กุหลาบตัดดอก Hybrid Tea   ดอกสีขาว ขนาดใหญ่  กลีบดอกซ้อน ใบขนาดกลาง สีเขียวอ่อน ค่อนข้างมันเป็นเงา  ดอกมีกลิ่นหอม ข้อเสียของกุหลาบพันธุ์นี้คือต้านทานโรคได้น้อย ต้องอาศัยการดูแลรักษาสูง

 

กุหลาบสีม่วง
Blue Moon กุหลาบตัดดอก Hybrid Tea ดอกสีม่วง (ชมพูอมฟ้า)  กลิ่นหอมมาก  ใบขนาดกลางสีเขียวไม่เข้มแต่ค่อนข้างมัน ต้นสูงประมาณ 3-4 ฟุต กว้างประมาณ 2 ฟุต เหมาะที่จะปลูกในแปลงหรือเป็นไม้กระถาง ข้อเสียคือต้องระวังโรคเชื้อรา

 

กุหลาบสีส้ม
Westerland Rose  กุหลาบเลื้อย  climbing  สีส้มอ่อน กลีบดอกซ้อน  ขอบกลีบมีรอยหยัก  ดอกมีกลิ่นหอม  ลำต้นตั้งตรง แข็งแรง ต้นสูงได้ถึง 8 ฟุต ใบนุ่มสีเขียวเข้ม อาจเกิดโรคราได้ง่าย  นิยมปลูกให้เลื้อยไปตามรั้วบ้าน

 

กุหลาบสีน้ำเงิน
เรายังไม่เคยเห็นบลูโรส หรือดอกกุหลาบสีน้ำเงินแท้ๆ กันเลย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะธรรมชาติของต้นกุหลาบนั้นไม่อาจสร้างเม็ดสีน้ำเงินได้ นั่นเอง
แต่จากเทคโนโลยีด้านยีนที่พัฒนาขึ้นในโลกยุคปัจจุบัน ทำให้เป้าหมายของนักปรับปรุงพันธุ์กุหลาบที่จะสร้างดอกกุหลาบสีน้ำเงินได้มา ถึงแล้ว และไม่ใช่แต่จะอยู่แต่เพียงในห้องปฏิบัติการเท่านั้น บัดนี้กุหลาบดอกสีน้ำเงินได้รับการสร้างเสริมคุณสมบัติให้มีอายุการบานดอก ที่นานขึ้น แถมมีกลิ่นหอม และทนฟรอส หรือน้ำค้างแข็งได้อีกระดับหนึ่ง จีเอมโรส (กุหลาบจีเอม หรือกุหลาบที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงยีนแล้วจะเรียกมันว่าอะไรก็ตาม อาจหาชื่อได้ทั่วไปในกลุ่มประเทศอียูปัจจุบัน)

 

                                                          
  
                                                          

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประวัติดอกกุหลาบ


ประวัติดอกกุหลาบ

           กุหลาบนับว่าเป็นไม้ดอกที่มีความงามยากที่ไม้ดอกอื่นจะเทียบเท่า จนได้รับชื่อว่าเป็น
"ราชินีแห่งดอกไม้" (Queen of flower)  กุหลาบมีมานานประมาณ 30 ล้านปีมาแล้ว มีทั้งหมดประมาณ
200 สปีชี่ส์ พันธุ์ดั้งเดิม(wild species) มีทั้งชนิดกลีบดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน
ส่วนกุหลาบที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันเป็นกุหลาบที่ผ่านการวิวัฒนาการมานานนับร้อยๆ ปี
และทั้งหมดเป็นกุหลาบลูกผสมซึ่งได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างกุหลาบ 1-8 สปีชี่ส์ และส่วนมากมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย



ข้อมูลทั่วไป


ชื่อวิทยาศาสตร์     Rosa hybrida
ชื่อวงศ์   ROSACEAE
ชื่อสามัญ  Rose
ชื่ออื่นๆ     กุหลาบ
ถิ่นกำเนิด    ทวีปเอเซีย
การขยายพันธุ์     เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ปักชำกิ่งและราก, ติดตา, ต่อกิ่ง, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ


วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558